การเปลี่ยนพัดลม Power Supply ด้วยตัวเอง
สวัสดีค่ะ กลับมาเจอกันอีกแล้วนะคะ
วันนี้เรามีสิ่งที่น่าสนใจมานำเสนอ คือ การเปลี่ยนพัดลม Power Supply ด้วยตัวเอง อยากให้เพื่อนๆ ได้ลองไปทำดูถ้าพัดลม Power
Supply ที่บ้านของเพื่อนๆ เกิดเสียขึ้นมาจะได้แก้ปัญหาด้วยตัวเองได้
โดยไม่ต้องง้อช่างเลยทีเดียว
ถ้างั้นเรามาเริ่มทำกันเลย....
อันดับแรกเรามารู้จักขั้นตอนการบัดกรีกันดีกว่า
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการบัดกรี
การบัดกรีเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ต้องมีการฝึกทักษะ จึงจะทำให้จุดบัดกรีสวยงาม
และไม่ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหาย เนื่องจากความร้อนจากการบัดกรี
อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่
1.
หัวแร้ง
หัวแร้งเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการบัดกรี มีหน้าที่ให้ความร้อนเพื่อละลายตะกั่ว พอตะกั่วละลายแล้วเอาไปเชื่อมกับสายไฟ หรือขาของอุปกรณ์ที่จะบัดกรี
หัวแร้งเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการบัดกรี มีหน้าที่ให้ความร้อนเพื่อละลายตะกั่ว พอตะกั่วละลายแล้วเอาไปเชื่อมกับสายไฟ หรือขาของอุปกรณ์ที่จะบัดกรี
2.
ตะกั่วบัดกรี
ตะกั่วบัดกรีเป็นแบบ 60/40 ตัวเลข 60/40 นี้ก็คือ ส่วนผสมของตะกั่ว และดีบุกคือ มีดีบุก 60 เปอร์เซ็นต์ และตะกั่ว 40 เปอร์เซ็นต์
ตะกั่วบัดกรีเป็นแบบ 60/40 ตัวเลข 60/40 นี้ก็คือ ส่วนผสมของตะกั่ว และดีบุกคือ มีดีบุก 60 เปอร์เซ็นต์ และตะกั่ว 40 เปอร์เซ็นต์
3.
กระบอกดูดตะกั่ว ใช้สำหรับดูดตะกั่วที่ไม่ต้องการออกจากแผงวงจร
ข้อควรระวังในการบัดกรี
- เนื่องจากหัวแร้งมีความร้อนสูงมาก
ในการบัดกรีควรระวังไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสจะทำให้ผิวหนังพองได้
- ขณะใช้งานควรวางหัวแร้งไว้ในที่เก็บหัวแร้ง
และระวังไม่ให้สายไฟของหัวแร้งถูกส่วนที่ให้ความร้อน
เพราะจะทำให้สายไฟละลายและอาจเกิดการลัดวงจรขึ้น
- ควรใช้ผ้าปิดจมูก หรือใช้พัดลมเป่าหรือดูดในขณะที่บัดกรี เนื่องจากการบัดกรีนั้นจะเกิดสารพิษออกมาในรูปของไอตะกั่ว ซึ่งเป็นอันตราย ถ้าหากบัดกรีเป็นเวลานาน จึงควรหลีกเลี่ยงอย่าสูดเข้าไป
เมื่อเราทราบวิธีการบัดกรีที่ถูกต้องแล้ว
เรามาเริ่มเปลี่ยนพัดลม Power Supply กันเลย...
ขั้นตอนที่ 1
ให้เพื่อนๆ แกะ Power Supply ออกจาก Case PC แล้วนำ Power Supply ออกมาแกะฝาครอบออกอีกทีดังภาพเลยนะคะ
เมื่อแกะฝาครอบ Power Supply ออกแล้วก็ควรเก็บน็อตที่แกะออกมาไว้ให้ดีนะคะ ถ้าหายนี้ก็ช่วยไม่ได้นะคะ ฮ่าๆๆ
ขั้นตอนที่ 2
เราจะนำพัดลม Power Supply ตัวที่เสียออก โดยวิธีการบัดกรี นำหัวแร้งไปจี้ที่ตัวกั่วที่เชื่อมสายไฟของพัดลม Power Supply อยู่
เมื่อบัดกรีออกทั้งสองสายแล้ว
ให้นำพัดลมตัวใหม่มาต่อแทนได้เลย โดยการบัดกรีทีละเส้น
ให้นำเส้นสีดำมาทำการบัดกรีก่อน จากนั้น ให้นำเส้นสีแดงมาบัดกรีเช่นกัน
ขั้นตอนที่
3
เมื่อบัดกรีเสร็จแล้วเรามาทำการทดสอบกันว่า
พัดลม Power Supply
ที่เราทำการเปลี่ยนสามารถใช้งานได้หรือไม่
วิธีตรวจเช็ค
ให้มองหาพอร์ตที่มี 24 พิน (รูปขวา) รุ่นใหม่ถ้ารุ่นเก่าจะมี
20 พิน (รูปซ้าย) ค่ะ ตามภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
1.ให้มองหาสายสีเขียว
2. ให้มองหาสายสีดำสังเกตง่ายๆ
ค่ะ สายสีเขียวและสีดำจะอยู่ติดกัน
3. สองช่องนี้ที่ถ้าจะทดสอบให้เตรียมลวดทำให้เป็นลักษณะแบบหมายเลขสามไม่มีจริงๆใช้ลวดเสียบกระดาษก็ได้ค่ะใช้ได้เหมือนกัน
เยี่ยมไปเลยเราทำได้แล้ว
พัดลมของเราหมุนแล้ว
เยี่ยมไปเลยเราทำได้แล้ว
พัดลมของเราหมุนแล้ว
วันนี้ก็แค่นี้ก่อนแล้วกันนะคะ
ครั้งหน้าถ้ามีอะไรดีๆ ใหม่ๆ เด็ดๆ อีกเราจะมาแนะนำกันใหม่นะคะ ^_^
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.sgiasite.com/2015/03/power-supply.html
http://ipstbox.programming.in.th/microbox/1_2_4_18.html
โอ้โฮ ... โอ้โฮ .... ชอบมากมาก เยี่ยมจริงๆ
ตอบลบให้เลย 2 ล้าน Like :D