วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การตรวจวัดค่าความต่างศักย์ไฟไฟ้า Power Supply

สวัสดีค่ะ  วันนี้เรามีประสบการณ์ดีๆ มาเล่าสู่กันฟังอีกแล้ว เกี่ยวกับการตรวจวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของ Power Supply  เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับ Power Supply  ของคอมพิวเตอร์กันซักหน่อย  เริ่มกันเลย

Power Supply ของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสกลับ 220 โวลต์ เป็นกระแสตรง 3.โวลต์, 5 โวลต์ และ 12โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์แต่ละตัว
แหล่งจ่ายไฟจะแบ่งสายไฟเลี้ยงเป็น 2 ชุด คือ
1.Main Connector
 1.Main Connector ที่จ่ายไฟเลี้ยง Main Board มี 20 pin + 4 pin (ดำ,แดง,เหลือง,ส้ม)
แบบ 20 pin (รุ่นเก่าหน่อย)



แบบ 20 pin + 4 pin
2.V core จ่ายไฟเลี้ยง CPU มี4 pin(ดำ 2 เส้นเหลือง 2 เส้น)

 อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดไฟฟ้า
1. มัลติมิเตอร์
2. ลวด
3. Power Supply

การตรวจวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า Power Supply
1.             ให้ถอด Connector ทุกตัวจากอุปกรณ์ต่างๆออก หรือจะถอด Power Supply ออกมา
        จาก Case เลยก็ได้ จะได้ทำการตรวจเช็คได้สะดวก
2.             ใช้ลวดหรือสายไฟต่อสายสีเขียวและสีดำ เสียบปลั๊กแล้วค่อยเสียบลวดก็ได้ไม่ช็อต
        เพราะ supply มี volt สูง  แต่ amp ต่ำ เมื่อเสียบปลั๊กไฟแล้วพัดลมจะต้องหมุน
3.             อุปกรณ์วัดเราใช้เป็นแบบดิจิทัล เพื่อความด้วยในการอ่านค่า  ให้ใช้สายสีดำของมิเตอร์แตะที่
       ตัว Power Supply  ส่วนสายสีแดงแตะกับสายที่ต้องการตรวจวัด









ค่าที่วัดได้จะต้องมากกว่าหรือเท่ากับค่าที่คำนวณได้ เพราะเป็นการวัดขณะที่ยังไม่มีโหลด ถ้าได้น้อยกว่าแสดงว่า supply เริ่มมีปัญหา ทำให้ไฟเลี้ยงเครื่องไม่เพียงพอ อาจจะต้องเปลี่ยนใหม่เพราะจะทำให้อุปกรณ์บางอย่างไม่ทำงานเพราะไฟเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้คิดว่าอุปกรณ์นั้นๆเสีย
สำหรับเรื่องการตรวจวัดค่าไฟฟ้า Power Supply ผมก็พอจะรู้เพียงเท่านี้นะคะ ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมคอมเม้นเลยนะคะ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์จาก Mainboard

การเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์จาก Mainboard


          สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ เรากลับมาแล้วพร้อมกับเรื่องที่น่าสนใจเสมอ ครั้งนี้เราจะมาบอกวิธีการเปิดปิดคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องใช้ปุ่ม คือ การเปิดหรือปิดคอมพิวเตอร์จากเมนบอร์ดนั้นเอง แล้วมันทำได้ไหม ?? เปิดได้จริงหรอ ?? นั้นสินะ งั้นเราไปดูกันเลย >>>>>


วิธีเปิดเครื่องและปิดเครื่องจากเมนบอร์ด

-                           ใช้ประกอบอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ให้ครบทุกอย่าง เหมือนตอนที่อยู่ในเคสเลย และอย่าลืมเสียบปลั๊กไฟด้วยนะคะ ไม่งั้นเปิดยังไงก็ไม่ติดนะคะ

                     อย่าลืมศึกษาคู่มือของเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆ ด้วยนะคะ

 
           1.       วิธีเปิดเครื่อง
ใช้ปลายไขควงไปจิ้มค้างไว้ในตำแหน่งพินที่ 6 และพินที่ 8 จิ้มค้างไว้สักครู่เครื่องก็จะทำการเปิดเครื่อง ซึ่งตำแหน่งพินที่ 6 และพินที่ 8 เป็น Power Switch นั้นเอง


2.       วิธีรีเซ็ตเครื่อง
ใช้ปลายไขควงไปจิ้มค้างไว้ในตำแหน่งพินที่ 5 และพินที่ 7 จิ้มค้างไว้สักครู่เครื่องก็จะทำการเปิดเครื่อง ซึ่งตำแหน่งพินที่ 5 และพินที่ 7 เป็น Reset Switch นั้นเองค่ะ
           3.       วิธีปิดเครื่อง
ก็ทำเหมือนกันกับการเปิดเครื่องเลยค่ะ โดยใช้ปลายไขควงไปจิ้มค้างไว้ในตำแหน่งพินที่ 6 และพินที่ 8 จิ้มค้างไว้สักครู่เครื่องก็จะทำการปิดเครื่องค่ะ มันง่ายนิดเดียวเลยใช่ไหมคะเพื่อนๆ



****วันนี้ประสบการณ์ดีๆ ก็ได้จบลงแค่นี้ ครั้งหน้ามีต่อนะจ๊ะ แต่จะเป็นเรื่องอะไรต้องคอยติดตามนะคะ****

แหล่งอ้างอิง
http://www.intel.com/content/www/us/en/support/boards-and-kits/000005643.html

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การเปลี่ยนพัดลม Power Supply ด้วยตัวเอง

การเปลี่ยนพัดลม Power Supply ด้วยตัวเอง

           สวัสดีค่ะ กลับมาเจอกันอีกแล้วนะคะ วันนี้เรามีสิ่งที่น่าสนใจมานำเสนอ คือ การเปลี่ยนพัดลม Power Supply ด้วยตัวเอง  อยากให้เพื่อนๆ ได้ลองไปทำดูถ้าพัดลม Power Supply ที่บ้านของเพื่อนๆ เกิดเสียขึ้นมาจะได้แก้ปัญหาด้วยตัวเองได้  โดยไม่ต้องง้อช่างเลยทีเดียว ถ้างั้นเรามาเริ่มทำกันเลย....

อันดับแรกเรามารู้จักขั้นตอนการบัดกรีกันดีกว่า 

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการบัดกรี
การบัดกรีเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีการฝึกทักษะ จึงจะทำให้จุดบัดกรีสวยงาม และไม่ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหาย เนื่องจากความร้อนจากการบัดกรี อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่
1.       หัวแร้ง
หัวแร้งเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการบัดกรี มีหน้าที่ให้ความร้อนเพื่อละลายตะกั่ว พอตะกั่วละลายแล้วเอาไปเชื่อมกับสายไฟ หรือขาของอุปกรณ์ที่จะบัดกรี



2.       ตะกั่วบัดกรี
ตะกั่วบัดกรีเป็นแบบ 60/40 ตัวเลข 60/40 นี้ก็คือ ส่วนผสมของตะกั่ว และดีบุกคือ มีดีบุก 60 เปอร์เซ็นต์ และตะกั่ว 40 เปอร์เซ็นต์



3.       กระบอกดูดตะกั่ว ใช้สำหรับดูดตะกั่วที่ไม่ต้องการออกจากแผงวงจร


ข้อควรระวังในการบัดกรี
  • เนื่องจากหัวแร้งมีความร้อนสูงมาก ในการบัดกรีควรระวังไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสจะทำให้ผิวหนังพองได้
  • ขณะใช้งานควรวางหัวแร้งไว้ในที่เก็บหัวแร้ง และระวังไม่ให้สายไฟของหัวแร้งถูกส่วนที่ให้ความร้อน เพราะจะทำให้สายไฟละลายและอาจเกิดการลัดวงจรขึ้น
  • ควรใช้ผ้าปิดจมูก หรือใช้พัดลมเป่าหรือดูดในขณะที่บัดกรี เนื่องจากการบัดกรีนั้นจะเกิดสารพิษออกมาในรูปของไอตะกั่ว ซึ่งเป็นอันตราย ถ้าหากบัดกรีเป็นเวลานาน จึงควรหลีกเลี่ยงอย่าสูดเข้าไป

เมื่อเราทราบวิธีการบัดกรีที่ถูกต้องแล้ว เรามาเริ่มเปลี่ยนพัดลม Power Supply กันเลย...
ขั้นตอนที่ 1
ให้เพื่อนๆ แกะ Power Supply ออกจาก Case PC แล้วนำ Power Supply ออกมาแกะฝาครอบออกอีกทีดังภาพเลยนะคะ

เมื่อแกะฝาครอบ Power Supply ออกแล้วก็ควรเก็บน็อตที่แกะออกมาไว้ให้ดีนะคะ ถ้าหายนี้ก็ช่วยไม่ได้นะคะ ฮ่าๆๆ



ขั้นตอนที่ 2
เราจะนำพัดลม Power Supply ตัวที่เสียออก โดยวิธีการบัดกรี นำหัวแร้งไปจี้ที่ตัวกั่วที่เชื่อมสายไฟของพัดลม Power Supply อยู่ 

เมื่อบัดกรีออกทั้งสองสายแล้ว ให้นำพัดลมตัวใหม่มาต่อแทนได้เลย โดยการบัดกรีทีละเส้น ให้นำเส้นสีดำมาทำการบัดกรีก่อน จากนั้น ให้นำเส้นสีแดงมาบัดกรีเช่นกัน


ขั้นตอนที่ 3
เมื่อบัดกรีเสร็จแล้วเรามาทำการทดสอบกันว่า พัดลม Power Supply ที่เราทำการเปลี่ยนสามารถใช้งานได้หรือไม่

วิธีตรวจเช็ค
ให้มองหาพอร์ตที่มี 24 พิน (รูปขวา) รุ่นใหม่ถ้ารุ่นเก่าจะมี 20 พิน (รูปซ้าย) ค่ะ ตามภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

1.ให้มองหาสายสีเขียว
2. ให้มองหาสายสีดำสังเกตง่ายๆ ค่ะ สายสีเขียวและสีดำจะอยู่ติดกัน

3. สองช่องนี้ที่ถ้าจะทดสอบให้เตรียมลวดทำให้เป็นลักษณะแบบหมายเลขสามไม่มีจริงๆใช้ลวดเสียบกระดาษก็ได้ค่ะใช้ได้เหมือนกัน

 นับจากช่องซ้ายไปขวา จะอยู่ที่ตำแหน่งที่ 3 และ 4 หรือ ตำแหน่งที่ 4 และ 5 ก็ได้  แล้วให้นำลวดไปเสียบที่ช่องนั้นได้เลย



เยี่ยมไปเลยเราทำได้แล้ว พัดลมของเราหมุนแล้ว 


เยี่ยมไปเลยเราทำได้แล้ว พัดลมของเราหมุนแล้ว


วันนี้ก็แค่นี้ก่อนแล้วกันนะคะ ครั้งหน้าถ้ามีอะไรดีๆ ใหม่ๆ เด็ดๆ อีกเราจะมาแนะนำกันใหม่นะคะ ^_^

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.sgiasite.com/2015/03/power-supply.html
http://ipstbox.programming.in.th/microbox/1_2_4_18.html